วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส 1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค 1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ การประสานประโยชน์ การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้

สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง" มาตรา 26 ถึง 69 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก

สิทธิมนุยชน

สิทธิมนุษยชนเป็นหลักทางศีลธรรมแจกแจงมาตรฐานบางอย่างของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองเป็นสิทธิตามกฎหมายเป็นปกติในกฎหมายระดับชาติและนานาชาติ สิทธิเหล่านี้ "เข้าใจทั่วไปว่าเป็นสิทธิมูลฐานอันไม่โอนให้กันได้ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเองเพียงเพราะเธอหรือเขาเป็นมนุษย์" ฉะนั้น จึงเข้าใจว่าสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งสากล (มีผลทุกที่) และสมภาค (เท่าเทียมสำหรับทุกคน) ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลอย่างสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันระดับโลกและภูมิภาค

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ประเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ๑) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการศึกษาซึ่งประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ -เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา -รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย -บิดามารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลที่อยู่ในความดูแล ๙ ปี ดดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน -การจัดการศึกษามมี ๓ รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก สาระการเรียนรู้ 1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย 2. กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว 3. กำหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา 4. กฎหมายอาญา 5. โมฆกรรมและโมฆียกรรม 6. กฎหมายอื่นที่สำคัญ 7. ข้อตกลงระหว่างประเทศ

ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์


ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้ 1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้ 2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ 3. ทรงเป็นพุทธมามกะ และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก 4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5. ทรงไว้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา รองประธานสภา ผู้แทนราษฎร รองประธานวุฒิสภา และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผูแทนราษฎร 6. ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการเรียกประชุมรัฐสภา 7. ทรงไว้พระราชอำนาจในด้านการตรา พระราชบัญญัติ พระราชกฤฏีกา พระราชกำหนดเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยและ ความมั่นคงทางเศษฐกิจของประเทศหรือป้องกันภัยพิบัติของสาธารณะ 8. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนองคมนตรี 9. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการยับยั้งร่างพระราชบัญญัติซึ่งรัฐบาลนำทูลเกล้าฯถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธย 10. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ 11. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งความเป็นรัฐมนตรี 12. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ผู้พิพากษา ตุลาการศาลยุติธรรม คณะกรรมการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งราชการฝ่ายทหารและพลเรือนระดับสูง 13. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ 14. ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ นอกจากนี้ยังมีพระมหากษัตริย์ยังทรงมีพระราชอำนาจอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์อีกด้วย